Bangmod Hackathon 2024

... BMH2024 - BMH2024 - BMH2024 - BMH2024 - BMH2024 - BMH2024 - BMH2024 ...

BangMod Hackathon 2024 คืออะไร ?

โครงการแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ BangMod Hackathon 2024 เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย รวมถึงนักศึกษาอาชีวศึกษาในระดับ ปวช. หรือเทียบเท่า ได้เข้ามาแข่งขันการเขียน โปรแกรม โดยใช้ภาษาซี ซึ่งการแข่งขันนั้นจะเป็นการแข่งขันในรูปแบบทีม ทำให้ผู้เข้าแข่งขันนั้นได้รับทั้งประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการเขียนโปรแกรม และฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีมอีกด้วย

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • รับสมัครเป็นทีม ทีมละ 2-3 คน
  • ผู้สมัครต้องเป็นนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ นักศึกษาอาชีวศึกษา ในระดับปวช. หรือเทียบเท่า
  • อาจารย์ที่ปรึกษาทีม 1 คน โดยอาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็น อาจารย์ที่สอนในสถานศึกษานั้น ๆ
  • แต่ละสถานศึกษาสามารถส่งผู้เข้าแข่งขันได้มากที่สุด 2 ทีม

เอกสารที่ใช้ในการรับสมัคร

อาจารย์ที่ปรึกษา

  • บัตรประจำตัวประชาชนอาจารย์ที่ปรึกษา หรือบัตรประจำตัวสำหรับบุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย (เฉพาะด้านหน้า)
  • เอกสาร หรือหนังสือยืนยันสถานภาพการเป็นอาจารย์ประจำสถาบันการศึกษา (บัตรประจำตัวครูอาจารย์, บัตรข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา)

นักเรียน

  • บัตรประจำตัวประชาชนผู้เข้าแข่งขัน หรือบัตรประจำตัวสำหรับบุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย (เฉพาะด้านหน้า)
  • ปพ.7 ของผู้เข้าแข่งขันฉบับจริง
  • รูปถ่ายนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน

รางวัล

รางวัลชนะเลิศ

30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

15,000 บาท พร้อมโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

5,000 บาท พร้อมโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณ

ไทม์ไลน์

เปิดรับสมัคร 31 OCTOBER 2023 ปิดรับสมัคร 15 DECEMBER 2023 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขัน 25 DECEMBER 2023 การแข่งขันรอบคัดเลือก 36 ทีม 13 JANUARY 2024 ประกาศผล ผู้ผ่านการแข่งขันรอบคัดเลือก 36 ทีม 18 JANUARY 2024 การแข่งขันรอบคัดเลือก 12 ทีม 29 JANUARY 2024 การแข่งขันรอบคัดเลือก 2 ทีม 29 JANUARY 2024 การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ & ประกาศผลการแข่งขัน 29 JANUARY 2024

ขอบเขตเนื้อหา

  • พื้นฐานการเขียนโปรแกรม
  • ทักษะการแก้ปัญหา (Problem-solving Skill)
  • พื้นฐานโครงสร้างข้อมูล
    • ชนิดข้อมูลดั้งเดิม (Primitive data type) ได้แก่ Boolean, Signed/Unsigned Integer, Character
    • แถวลําดับ (อาเรย์ และอาเรย์หลายมิติ
    • Record/Struct
    • สตริง และการดําเนินการกับสตริง
    • Static และ Stack Allocation
    • Lined Structures (ทั้งที่เป็นแบบเส้นตรง และแบบที่แบ่งเป็นสาขาได้)
    • การสร้างโครงสร้างกองซ้อน (Stack) คิว (Queue) ต้นไม้(Tree) และกราฟ (Graph)
    • การเลือกโครงสร้างข้อมูลมที่เหมาะสม
    • คิวลำดับสำคัญ (Priority Queue) ไดนามิกเซต (Dynamic Set) และไดนามิกแม็ป (Dynamic Map)
  • การเรียกตัวเองซ้ำ (Recursion)
    • แนวคิด
    • ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่เรียกตัวเองซ้ำ
    • วิธิแบ่งแยก และเอาชนะ (Divide and Conquer)
    • อัลกอริทึมการย้อนรอยแบบเรียกตัวเองซ้ำ (Recursive Backtracking)
  • พื้นฐานการวิเคราะห์ความซับซ้อนของอัลกอริทึม (Algorithmic Complexity)
  • กลวิธีทางอัลกอริทึม
    • Brute-force Algorithm
    • Greedy Algorithm
    • การแบ่งแยก และเอาชนะ
    • Backtracking (ทั้งที่เป็นแบบเรียกตัวเองซ้ำ และไม่เรียกตัวเองซ้ำ)
    • Branch-and-bound Algorithm
    • Pattern Matching and String/Text Algorithm
    • Dynamic Programming
  • อัลกอริทึมเชิงคํานวณพื้นฐาน
    • อัลกอริทึมเชิงคํานวณพื้นฐาน อัลกอริทึมเชิงตัวเลขพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเต็ม เช่น Radix Conversion, Euclid's Algorithm, Primality Test in O(N1/2), Sieve of Eratosthenes, Factorization, Efficient Exponentiation
    • การจัดการอาร์เรยขั้นพื้นฐาน (รวมถึงการทําฮิสโทแกรม และ Bucket Sort)
    • Sequential และ Binary Search
    • Search by Elimination
    • การเรียงข้อมูลที่มีเวลาที่แย่ที่สุดเป็น O(NlogN) เช่น Heap Sort, Merge Sort
    • Binary Heap พื้นฐาน และ Binary Search Tree
    • การบรรยายโครงสร้างกราฟ เช่น Adjacency List, Adjacency Matrix
    • Depth-first and Breadth-first Traversals of Graphs และการหาองค์ประกอบที่เชื่อมต่อกันของกราฟแบบไม่มีทิศทาง
    • Shortest Path Algorithm เช่น Dijkstra, Bellman-Ford, Floyd-Warshall
    • Transitive Closure (Floyd's Algorithm)
    • Minimum Spanning Tree
  • กราฟ และต้นไม้
    • ต้นไม้ และคุณสมบัติพื้นฐาน
    • กราฟแบบไม่มีทิศทาง (Degree, Path, Cycle, Connectedness, Handshaking Lemma)
    • กราฟแบบมีทิศทาง (In-degree, Out-degree, Directed Path/Cycle)
    • Spanning Trees
    • วิธิการเดินผ่านต้นไม้ (Traversal Strategies: Defining the Node Order for Ordered Trees)
    • Decorated Graphs with Edge/Node Labels, Weights, Colors
    • Multi graphs และ Graphs ที่มี Self-loops

ติดต่อเรา

BANGMOD HACKATHON 2024
CHAT NOW
061-628-7673 เฟิร์ท
095-928-3465 เจน
086-980-6454 เบค
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชั้น 10 อาคารวิศววัฒนะ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
©2023 BangMod Hackathon 2024